|
|||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||
ทำไมถึงต้องเป็น 11 โรงพยาบาลนี้ ?
2017-10-12
ตูน บอดี้สแลม กับการวิ่งระยะทางไกลอีกครั้ง จากใต้สุดสู่เหนือสุดของประเทศไทย เพื่อระดมทุนช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาล เป้าหมายอยู่ที่ 700 ล้านบาทเวลานี้คงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก ตูน บอดี้สแลม หลายคนรู้จักเขาจากการเป็นนักร้องหนุ่มร่างผอมเล็ก ร้องเพลงมัน ๆ ให้คนกระโดดตามกลางเวทีคอนเสิร์ตแสงสีจัดเต็ม แต่ในอีกด้าน ผู้ชายคนนี้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องใจบุญ และนักวิ่งช่วยเหลือโรงพยาบาล ผู้อุทิศตัวและชีวิตในการระดมทุนช่วยเหลือสังคม
ตูนตกลงช่วยเหลือและยินดีจัดงานให้ แต่เมื่อมาคำนวณค่าใช้จ่ายในการจัดงานวิ่ง กลับได้ตัวเลขที่สูง เงินมหาศาลที่ใช้จัดงานจะทำให้เหลือเงินทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ได้ไม่มากนัก เขาจึงคิดใหม่ ใช้ตัวเองเป็นจุดเริ่มต้น เป็นการวิ่งด้วยตัวคนเดียว เพื่อลดต้นทุน และจะได้นำเงินมาช่วยเหลือโรงพยาบาลอย่างเต็มที่
เมื่อปลายปี 2559 จึงเกิดเป็นโครงการ "ก้าวคนละก้าว เพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน" โดย ตูน ได้วิ่งเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานครถึงบางสะพาน ใช้เวลา 10 วัน และเปิดระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลบางสะพาน ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ โดยได้รับน้ำใจจากคนไทยเป็นยอดบริจาคทะลุ 85 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนั้นได้ถูกนำไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และปรับปรุงโรงพยาบาลใหม่ และได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยไปหลายชีวิตแล้ว
เป้าหมายในครั้งนี้ เพื่อเปิดระดมทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลทั้งหมด 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยที่ตูนตั้งเป้ายอดบริจาคไว้ที่ 700 ล้านบาท และอีกจุดประสงค์คือให้คนไทยหันมาออกกำลังกายและใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เป็นการลดภาระของโรงพยาบาลที่ต้องดูแลคนป่วยไปด้วย
ทำไมถึงต้องเป็น 11 โรงพยาบาลนี้ ?
11 โรงพยาบาลที่จะนำเงินจากโครงการนี้ไปบริจาค ได้แก่
- โรงพยาบาลยะลา
- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
- โรงพยาบาลราชบุรี
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
- โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี
- โรงพยาบาลขอนแก่น
- โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
- โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
- โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
- โรงพยาบาลน่าน
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
โดยทั้ง 11 โรงพยาบาลนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่กว่าโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไป ตั้งอยู่ตามจังหวัดใหญ่ ๆ และมีการให้บริการครอบคลุมถึงประชาชนได้หลายจังหวัด รวมถึงโรงพยาบาลน่าน ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลศูนย์ แต่อยู่ในพื้นที่พิเศษห่างไกลจากตัวเมืองทำให้ลำบากในการเดินทางขนส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการรับบริจาค
พร้อมกันนี้ ระหว่างทาง ตูน ยังมีอีกหนึ่งเป้าหมาย คือการบริจาคเงินให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ที่ได้วิ่งผ่าน เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับน้อง ๆ อีกโรงเรียนละ 50,000 บาท วันละ 1 โรงเรียน รวม ๆ แล้วก็ 55 โรงเรียน ตลอดระยะทางวิ่ง
ยะลา / ปัตตานี / สงขลา / นครศรีธรรมราช / สุราษฎร์ธานี / ชุมพร / ประจวบคีรีขันธ์ / เพชรบุรี / ราชบุรี / นครปฐม / กรุงเทพฯ / นนทบุรี / สุพรรณบุรี / ชัยนาท / นครสวรรค์ / กำแพงเพชร / ตาก / ลำปาง / พะเยา / เชียงราย
ซึ่งไม่ใช่ระยะทางตรงและใกล้ที่สุด แต่จุดประสงค์คือต้องการให้ผ่านจุดใหญ่ ๆ ที่ให้คนสามารถมาร่วมบริจาคและร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น
จากระยะทางถึง 2,191 กิโลเมตร ที่ต้องวิ่ง ทำให้ ตูน ต้องฟิตซ้อมร่างกายให้ดีที่สุด เนื่องจากทางแพทย์ได้ให้ข้อมูลว่าการวิ่งระยะทางไกลขนาดนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิด "ภาวะกล้ามเนื้อสลาย" จากการที่ใช้พลังงานมากเกินจนส่งผลต่อร่างกาย