|
|||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||
TCAS คืออะไร ระบบใหม่ที่มาแทน แอดมิชชั่น กับปัญหาที่เด็ก 61 พากันส่ายหัว
2018-06-12
ช่วงกลางปีเป็นช่วงที่เข้าสู่เทศกาลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอีกแล้ว แน่นอนว่าหลายคนคงกำลังง่วนอยู่กับเลือกที่เรียน ซึ่งในสมัยก่อนเรามักจะได้ยินระบบการสอบที่เรียกว่า O-NET กับ A-NET ใช่ไหมคะ ซึ่งต่อมาทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มติให้การจัดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นแบบใหม่ โดยยกเลิกระบบ A-NET และมีระบบ GAT/PAT เข้ามา (มารู้จัก การสอบ gat-pat กัน)
และในปัจจุบัน ทปอ. ก็ได้ออกรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย นั่นคือการใช้ระบบ TCAS เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรก แต่สำหรับคนที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น ยังไม่ถึงเวลาที่จะสอบ TCAS อาจกำลังสงสัยว่า TCAS คืออะไร สอบ TCAS เป็นยังไง จะเตรียมตัวรับมือ TCAS ยังไง วันนี้เราจะพาไปรู้จักการสอบ TCAS กันค่ะ
สำหรับ TCAS หรือ Thai University Central Admission System นั้นเป็นระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ที่ลดการสอบลง เหลือแค่การสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพียง 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ GAT PAT, 9 วิชาสามัญ และ ONET และสำหรับน้อง ๆ ที่จะสอบเข้าในอาชีพสายแพทย์ ก็จะมีการสอบความถนัดแพทย์ (หรือเรียกแบบเป็นทางการว่า วิชาเฉพาะแพทย์) ที่จัดโดย กสพท. เข้ามาเพิ่ม
ซึ่งระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในปี 2561 หรือ TCAS เป็นระบบที่ออกแบบ โดย ทปอ. เพื่อเพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย ลดปัญหาการกันสิทธิ์ (กั๊กที่) วิ่งรอกสอบ เพราะการสอบทั้งหมดจะจัดสอบหลังจากนักเรียนชั้น ม.6 จบการศึกษาแล้ว ขณะเดียวกัน ทปอ. ยังเชื่อว่า การสอบแบบนี้จะทำให้เด็กไม่เครียดจนเกินไป เพราะมีหลายรอบให้ลุ้น และยังสามารถเลือกสมัครในรอบที่เหมาะสมกับตัวเองได้
เนื่องจากการสอบในปีที่ผ่าน ๆ มา เกิดความซ้ำซ้อนมากเกินไป ส่งผลให้เด็กต้องสอบหลายครั้งทั้ง GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ และ O-NET ที่จัดตลอดทั้งปี หรือในบางคณะ บางมหาวิทยาลัย ก็จัดสอบตรงของตัวเองอีก เด็กจึงต้องวิ่งรอกสอบหลายครั้ง เสียค่าสมัคร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หลายรอบ นอกจากนี้ การสอบในปีก่อน ๆ มักจัดขึ้นในช่วงที่ยังไม่ปิดภาคเรียน ทำให้อาจารย์ต้องเร่งสอนเพื่อให้ทันการสอบ ซึ่งเด็กก็อาจจะเรียนได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จึงปรับเปลี่ยนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจากระบบแอดมิชชั่น มาเป็น TCAS นั่นเอง
* รอบที่ 1 : รับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน ในรอบนี้ไม่มีการสอบข้อเขียน และไม่ได้เป็นการรับทั่วไป แต่จะดูผลงานและความสามารถเป็นหลัก เช่น กีฬา ดนตรี การเรียนต้องมีความโดดเด่น เช่น นักเรียนทุน หรือ ผ่านการแข่งขันวิชาการระดับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ยื่นใบสมัครแสดงหลักฐานยืนยันก็เข้าเรียนได้ทันที ไม่ต้องยื่นคะแนน
ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560 ประกาศผล 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 ประกาศผล 26 มีนาคม 2561
สำหรับนักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย ยื่นสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
* รอบที่ 2 : สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือรอบเขตการศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด โดยมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบได้เองเลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9 วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก
- ธันวาคม 2560 - มีนาคม 2561 ประกาศผล 8 พฤษภาคม 2561
สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ยื่นสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
* รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน ซึ่งกำลังเป็นรอบที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ ในรอบนี้จะเป็นการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัคร และมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีการเลือกอันดับ
ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก
- วันที่ 9-13 พฤษภาคม 2561 ประกาศผล 8 มิถุนายน 2561
สำหรับนักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด การเลือกสอบสามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นมีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง)
โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด ยื่นสมัครผ่าน ทปอ. หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก
ในรอบนี้แต่ละคณะจะมีคะแนนเต็ม 30,000 คะแนน นักเรียนที่ได้เกรดสูงจากโรงเรียนต่าง ๆ จะได้เปรียบ เพราะใช้คะแนนรอบนี้ถึง 6,000 คะแนน
ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก
- วันที่ 6-10 มิถุนายน 2561 ประกาศผล 13 กรฎาคม 2561
สำหรับนักเรียนทั่วไป การเลือกสอบสามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี ยื่นสมัครผ่าน ทปอ.
* รอบที่ 5 : รับตรงอิสระ หรือรอบเก็บตก แต่ละมหาวิทยาลัยจะเปิดรับสมัครและพิจารณาจากคะแนน GAT/PAT
ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก
ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
สำหรับนักเรียนทั่วไป การเลือกสอบสามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง ยื่นสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
ภาพจาก seniorswu.in.th
แล้ว TCAS ต่างจากแอดมิชชั่นแบบเดิมอย่างไร ?
ดังนั้น หากใครสอบได้ในรอบแรก ๆ แล้ว แต่ยังต้องการสมัครในรอบต่อไป หรือสมัครสอบในคณะอื่น ๆ ก็จะต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และต้องมีเอกสารรับรองการสละสิทธิ์จากสถาบันอุดมศึกษาด้วย หากทำไม่ทัน หรือไม่กดสละสิทธิ์ก็จะถือว่าได้เลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ และจะไม่สามารถสมัครสอบในรอบต่อไปได้อีก
นิสิตนักศึกษาคนไหนที่ลาออกจากคณะเดิมเพื่อจะกลับมาสอบเข้าคณะอื่น ๆ สามารถสอบ TCAS ได้ทุกรอบที่เปิดรับสมัคร แต่ต้องตรวจสอบด้วยว่าสาขาที่เราต้องการจะสอบเข้านั้นเปิดรับสมัครหรือไม่
ส่วนคนไหนเรียนจบมาจากโรงเรียนนานาชาติ หรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครได้ 4 รอบ คือ
- รอบที่ 1 สามารถยื่นคะแนนทางวิชาการเพื่อรับการพิจารณาคัดเลือกได้ โดยไม่ต้องสอบเพิ่มเติม
- รอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ซึ่งต้องสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- รอบที่ 4 ใช้คะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เปิดเทอมเร็วกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ดังนั้น ใครที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ต่าง ๆ จะสมัครได้ในรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 เท่านั้น แต่ไม่สามารถสมัครรอบที่ 4 ได้ เพราะกำหนดการรับสมัครและสอบในรอบที่ 4 เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเปิดเทอมไปแล้ว
TCAS มีการสอบอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร ?
อย่างที่บอกไปแล้วว่า TCAS จะสอบเพียง 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ GAT PAT, 9 วิชาสามัญ และ ONET ในส่วนของคณะที่เกี่ยวกับแพทย์ก็จะมีการสอบความถนัดแพทย์เข้ามาเพิ่มด้วย ซึ่งแต่ละแบบมีรายวิชาที่ต้องสอบดังนี้
สำหรับในการสอบ GAT/PAT จะมีทั้งหมด 8 วิชาคือ
- ความถนัดทั่วไป (GAT)
- ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT1)
- ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT2)
- ความนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT3)
- ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (PAT4)
- ความถนัดทางวิชาชีพครู(PAT5)
- ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (PAT6)
- ความถนัดทางภาษา (PAT7)
โดยจะสามารถเลือกสอบกี่วิชาก็ได้ แต่ความถนัดทางภาษา จะสามารถเลือกได้เพียงหนึ่งภาษาจากทั้งหมด 7 ภาษา คือ ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, จีน, อาหรับ บาลี และเกาหลี ซึ่งเพิ่มเข้ามาเป็นปีแรก แต่ละวิชาจะมีเวลาในการสอบวิชาละ 3 ชั่วโมง ยกเว้น GAT จะแบ่งออกเป็น 2 พาร์ท คือ แกทเชื่อมโยงและภาษาอังกฤษ โดยจะมีเวลาในการสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ในตอนแรกเราจะได้พาร์ทแกทเชื่อมโยงก่อน เมื่อครบ 1 ชั่วโมง 30 นาที กรรมการจะทำการเก็บกระดาษคำตอบ แล้วจึงแจกกระดาษคำตอบในวิชาภาษาอังกฤษให้
ในการสอบความถนัดแพทย์ จะมีทั้งหมด 3 พาร์ท แบ่งเป็น พาร์ทเชื่อมโยง, พาร์ทเชาว์ปัญญา และพาร์ทจริยธรรมแพทย์ โดยมีเวลาทำข้อสอบพาร์ทละ 1 ชั่วโมง 30 นาที
และสุดท้าย การสอบ ONET จะมีทั้งหมด 5 วิชาคือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ในแต่ละวิชาจะมีเวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง แต่ข้อสอบจะมีความง่ายกว่าการสอบอื่น ๆ เพราะเป็นการสอบวัดพื้นฐานในวิชาต่าง ๆ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบ TCAS
- นักเรียนเสียค่าสมัครสอบ และค่าใช้จ่ายยื่นเข้าคณะเป็นเงินจำนวนมาก
นักเรียนที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง เพื่อให้สามารถสอบติดได้ในคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการนั้น จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อสมัครสอบให้ครบ โดยเริ่มต้นจากการสอบ GAT/PAT ที่เสียเงินค่าสมัครสอบวิชาละ 140 บาท กสพท วิชาละ 800 บาท 9 วิชาสามัญ วิชาละ 100 บาท
ในส่วนของการยื่นเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยนั้น รอบที่ 1 และ 2 ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด แต่ในรอบที่ 3 นั้น เสียค่ายื่นคณะสาขาวิชาละ 200 บาท และค่ายืนยันสิทธิ์อีก 100 บาท หากนักเรียนไม่ติด ไปยื่นในรอบที่ 4 จะเสียค่ายื่นอันดับแรก 150 บาท อันดับต่อไป 50 บาท และรอบที่ 5 นั้น ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย
จะเห็นได้ว่า นักเรียนเองต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก หลายครั้ง และซ้ำซ้อนกันสุดกู่ และการทำแบบนี้ ยิ่งเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กที่ขาดแคลน และทางบ้านมีฐานะยากจน เนื่องจากไม่มีเงินสมัครสอบ และไม่มีเงินยื่นคณะด้วยด้วยซ้ำ
- นักเรียนสอบซ้ำซ้อน เครียดมากขึ้น เสียค่าเรียนพิเศษเพิ่มขึ้น
จุดประสงค์ของระบบนี้ ก็เพื่อเป็นการลดการสอบ หากแต่ในทางปฏิบัติ กลับยิ่งทำให้นักเรียนยิ่งต้องติวมากขึ้นในหลาย ๆ วิชา ไม่ใช่เฉพาะ GAT/PAT หรือ O-net อย่างเดียวแล้ว และหากใครอยากติดในรอบแรก ๆ ก็ยิ่งต้องทำผลงานให้ดี ยิ่งทำให้นักเรียนและผู้ปกครอง ต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียนพิเศษมากกว่าเดิมอีก
- นักเรียนเสียค่าสมัครสอบ และค่าใช้จ่ายยื่นเข้าคณะเป็นเงินจำนวนมาก
นักเรียนที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง เพื่อให้สามารถสอบติดได้ในคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการนั้น จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อสมัครสอบให้ครบ โดยเริ่มต้นจากการสอบ GAT/PAT ที่เสียเงินค่าสมัครสอบวิชาละ 140 บาท กสพท วิชาละ 800 บาท 9 วิชาสามัญ วิชาละ 100 บาท
ในส่วนของการยื่นเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยนั้น รอบที่ 1 และ 2 ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด แต่ในรอบที่ 3 นั้น เสียค่ายื่นคณะสาขาวิชาละ 200 บาท และค่ายืนยันสิทธิ์อีก 100 บาท หากนักเรียนไม่ติด ไปยื่นในรอบที่ 4 จะเสียค่ายื่นอันดับแรก 150 บาท อันดับต่อไป 50 บาท และรอบที่ 5 นั้น ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย
จะเห็นได้ว่า นักเรียนเองต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก หลายครั้ง และซ้ำซ้อนกันสุดกู่ และการทำแบบนี้ ยิ่งเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กที่ขาดแคลน และทางบ้านมีฐานะยากจน เนื่องจากไม่มีเงินสมัครสอบ และไม่มีเงินยื่นคณะด้วยด้วยซ้ำ
- นักเรียนสอบซ้ำซ้อน เครียดมากขึ้น เสียค่าเรียนพิเศษเพิ่มขึ้น
จุดประสงค์ของระบบนี้ ก็เพื่อเป็นการลดการสอบ หากแต่ในทางปฏิบัติ กลับยิ่งทำให้นักเรียนยิ่งต้องติวมากขึ้นในหลาย ๆ วิชา ไม่ใช่เฉพาะ GAT/PAT หรือ O-net อย่างเดียวแล้ว และหากใครอยากติดในรอบแรก ๆ ก็ยิ่งต้องทำผลงานให้ดี ยิ่งทำให้นักเรียนและผู้ปกครอง ต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียนพิเศษมากกว่าเดิมอีก
-คะแนนเฟ้อหนัก บางคณะคะแนนต่ำสุดเกือบเท่าคะแนนเต็ม
ในอดีต หากใครที่ได้คะแนนประมาณ 90% หรือ 27,000 คะแนน คงจะสบายใจไปเปราะหนึ่งแล้วว่า อนาคตน่าจะมีที่เรียน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ทว่า..คงไม่ใช่อย่างนั้นอีกต่อไป
ในตอนนี้ การได้คะแนนในแบบ "การันตี" ที่เรียนนั้น ต้องได้อย่างน้อย 28,000 คะแนนขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คะแนนต่ำสุดในบางคณะ บางสาขา แทบจะเท่ากับคะแนนเต็ม เช่น คณะจิตวิทยา รูปแบบที่ 3 มีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 28,750 คะแนน คณะรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 28,140 คะแนน และคณะนิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์นั้น คะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 26,860 คะแนน
- คนเก่งติดได้ทุกที่ คนเรียนกลาง ๆ ไม่มีที่เรียน
ในรอบที่ 3 ของการสอบ TCAS นั้นเป็นปกติที่เวลาเลือกคณะ นักเรียนมักจะเลือกคณะที่คิดว่าจะติดแน่ ๆ สำรองเอาไว้บ้าง แต่เนื่องจากในระบบใหม่ ทำให้นักเรียนสามารถสอบติดได้ทั้ง 4 อันดับ แล้วจึงสามารถมาเลือกได้ ส่งผลให้คนที่เรียนเก่ง ๆ เกิดการกั๊กที่ ส่วนนักเรียนที่เรียนได้กลาง ๆ นั้น แทบจะไม่มีที่เรียน
เรื่องนี้เป็นผลให้จำนวนที่นั่งที่ทางมหาวิทยาลัยมีกว่า 1 แสนที่นั่ง ถูกนักเรียนคนอื่นกั๊กไปเกินครึ่ง มีนักเรียนที่ได้อย่างน้อย 1 ที่นั่งแค่ประมาณเกือบ 7 หมื่นที่นั่ง แต่มีผู้มายืนยันสิทธิ์เพียง 5 หมื่นที่นั่ง บางคณะที่เป็นคณะยอดฮิต อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ผ่านการคัดเลือกถึง 610 คน ทว่ามีผู้มายืนยันสิทธิ์เพียง 269 คน โดยมีคนที่สอบติดและเลือกคณะอื่นถึง 330 คน หรือคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ประกาศที่นั่ง 20 ที่นั่ง มีคนสอบติดทั้ง 20 ที่นั่ง แต่กลับไม่มีนักเรียนมายืนยันสิทธิ์เลยสักคนเดียว ซึ่งแทบจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะดัง ในมหาวิทยาลัยดัง ที่มีที่นั่งเหลือเกินครึ่ง หลังการประกาศผลการยื่นคณะ
สุดท้ายแล้ว ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการสอบ ก็มักจะมีปัญหาระบบตามมา ซึ่งหวังว่าในอนาคต ทางผู้หลักผู้ใหญ่จะสามารถหาระบบการสอบที่ลงตัวกับทุกฝ่าย และไม่สร้างปัญหาให้ทั้งเด็กและผู้ปกครองอีกต่อไป
- เด็ก ม.6 โอดครวญ สอบ TCAS ทำคะแนนเฟ้อหนัก-กั๊กที่ 26,000 ยังไม่ติดจุฬาฯ
- รวมคำบ่น #dek61 ครึ่งประเทศไร้ที่เรียนต่อ หนูทดลองการศึกษาไทย
เฟซบุ๊ก Thai PBS News