1-1-62
แผนที่ลมระดับผิวพื้น แสดงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่นำอากาศเย็นเข้าสู่ไทยและตำแหน่งล่าสุดของพายุโซนร้อน "ปาบึก" PABUK ที่กำลังเคลื่อนตัวช้าๆๆมาทางอ่าวไทยและจะเริ่มส่งผลให้มีฝนตกหนักลมแรงในภาคใต้ช่วงวันที่ 3-5 ม.ค.
|
|||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||
เร่งรับมือ พายุปาบึก หวั่นแรงเท่าเหตุการณ์แหลมตะลุมพุก เมื่อ 57 ปีที่แล้ว
2019-01-02
ทุกฝ่ายเร่งรับมือ พายุปาบึก วางแผนรัดกุม หวั่นซ้ำรอยเหตุการณ์ที่แหลมตะลุมพุก เมื่อ 57 ปีที่แล้ว คาดคลื่นสูง 5 เมตร ยันระบบเตือนภัยไร้ปัญหา หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือนพายุโซนร้อนปาบึก จะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยประมาณวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ซึ่งทาง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้เร่งอพยพพนักงานบนแท่นขุดเจาะกลางทะเล เพราะมีแนวโน้มส่งผลกระทบเรื่องความปลอดภัย [อ่านข่าว : ปตท.สผ. รับมือพายุปาบึก สั่งอพยพเจ้าหน้าที่แท่นขุดเจาะกลางทะเลอ่าวไทย]
ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 2 มกราคม 2562 มีรายงานจาก สำนักข่าวไทยพีบีเอส ที่ได้สัมภาษณ์ นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า มีการแจ้งไปยังหน่วยงานระดับท้องถิ่น 15 จังหวัดฝั่งอ่าวไทย ให้เตรียมพร้อมรับมือ สำหรับการอพยพประชาชนบริเวณชายฝั่งนั้น ต้องให้ทางท้องถิ่นเป็นคนประเมินสถานการณ์ในพื้นที่
นายภูเวียง บอกอีกว่า พายุปาบึก เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่จะพัดเข้าอ่าวไทยในช่วง 50 กว่าปี ก่อนหน้านี้ช่วงเดือนธันวาคม 2561 ก็มีพายุดีเปรสชัน แต่ยังไม่พัฒนาเป็นพายุโซนร้อน การที่มีพายุเข้าในเดือนมกราคม ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ ซึ่งยังบอกสาเหตุไม่ได้ชัดเจน ต้องวิเคราะห์รายละเอียดอีกครั้ง
สำหรับรายงานจากทาง สำนักข่าวสปริงนิวส์ ระบุว่า ชาวประมงใน จ.ชุมพร ต่างหวาดวิตกกับพายุปาบึก ได้พากันนำเรือเข้าจอดในที่ปลอดภัย ทางชาวประมงได้ปฏิบัติตามคำประกาศเตือนของกรมอุตุฯ เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่จะไม่นำเรือเล็กออกไปทำประมงตามแนวชายฝั่ง มีแค่เรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ฝ่าคลื่นลมได้ก็ยังออกไปทำประมงน้ำลึก แต่ขณะนี้ก็ได้นำเรือประมงเข้าแอบตามเกาะต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมากแล้วเพื่อความปลอดภัย
ด้าน พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า จากการคาดการณ์ผลของพายุจะทำให้มีคลื่นสูง 5 เมตร จึงเตรียมสั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมรับมือ
เบื้องต้นได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ส่วนในพื้นที่ ประชาชนท้องถิ่นสามารถช่วยป้องกันเบื้องต้นได้ เช่น ดูแผ่นป้ายตามเสาไฟ พร้อมระบุว่า หากมีฝนตกหนักอาจเกิดปัญหาเรื่องการระบายน้ำ จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านการระบายน้ำด้วย ยืนยันว่า ระบบเตือนภัยไม่มีปัญหา ย้ำว่า ไทยมีทั้งระบบและบุคลากรที่ดีมาก โดยเฉพาะในระดับอาเซียน ซึ่งสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นจะรุนแรงหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับธรรมชาติ